ชาวบ้านเชื่อกันว่า ในวันแรม 14 ค่ำ เดือน 9จะเป็นวันที่ประตูนรกเปิดออก วิญญาณของผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว รวมถึงเปรต สัตว์นรกต่าง ๆ จะขึ้นมาอยู่บนโลกมนุษย์ จึงเกิดเป็นประเพณีบุญข้าวประดับดิน เพราะเป็นการนำอาหารคาวหวานมาวางไว้ตามจุดต่าง ๆ หรือที่เรียกว่า “ยายห่อข้าวน้อย” โดยคำว่า ยาย หมายถึงการวางเป็นระยะ ๆ เพื่อให้วิญญาณได้มารับอาหารที่ชาวบ้านนำมาทำบุญ นอกจากนี้ยังเป็นการทำบุญให้กับผู้ยากไร้ และสัตว์จรจัดที่หิวโหย ให้สามารถมากินอาหารได้อีกด้วย
รูปภาพจาก: สำนักประชาสัมพันธ์เขต 2 อุบลราชธานี
ตำนานบุญข้าวประดับดิน
มาจากความเชื่อในนิทานพระธรรมบทที่ว่า ในสมัยพุทธกาล มีญาติของพระเจ้าพิมพิสารได้ยักยอกเงินวัดไปเป็นของตน เมื่อตายไปจึงกลายเป็นเปรต หลังจากนั้นเมื่อพระเจ้าพิมพิสารถวายทานแด่พระพุทธเจ้าและไม่ได้อุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติที่ล่วงลับไปแล้ว ในตอนกลางคืนญาติที่ตายจึงมาแสดงตัว และเปล่งเสียงน่ากลัวใกล้พระราชนิเวศน์ ในรุ่งเช้า พระเจ้าพิมพิสารจึงได้เสด็จไปทูลถามพระพุทธเจ้า พระพุทธองค์ทูลเหตุให้ทราบ ต่อมา พระเจ้าพิมพิสารจึงถวายทานอีก และได้อุทิศส่วนกุศลให้กับญาติตนนั้น ญาติจึงได้รับส่วนบุญส่วนกุศลไปด้วย
ดังนั้น บุญข้าวประดับดิน จึงเป็นประเพณีที่จัดขึ้นเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ที่ล่วงลับ และเปรต ในทุก ๆ ปี
รูปภาพจาก: โครงการเรียนรู้คุณค่าศิลปวัฒนธรรม ฮีตสิบสอง คองสิบสี่ บุญข้าวประดับดิน, มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
พิธีกรรมบุญข้าวประดับดิน
-
ในวันแรม 13 ค่ำ เดือน 9 หรือก่อนวันบุญข้าวประดับดิน จะมีการเตรียมอาหารคาวหวาน หมาก พลู และบุหรี่ไว้สี่ส่วนด้วยกัน ส่วนที่หนึ่งเตรียมไว้ให้กับคนในครอบครัว ส่วนที่สองให้แก่ญาติพี่น้อง ส่วนที่สามอุทิศให้แก่ญาติที่ล่วงลับไปแล้ว และส่วนที่สี่นำไปถวายแด่พระสงฆ์ ในอาหารคาวหวานส่วนที่สามนั้น จะเป็นการ “ห่อข้าวน้อย” นั่นคือเอาใบตองมาห่ออาหาร โดยใช้ขนาดเท่าฝ่ามือ
อาหารที่ห่อใส่ไว้ในใบตอง ได้แก่
- ข้าวเหนียวนึ่งสุก ปั้นเป็นก้อนเล็ก ๆ ขนาดเท่าหัวแม่มือ 1 ก้อน
- ใส่เนื้อปลา เนื้อไก่ เนื้อหมูลงไปเล็กน้อย
- กล้วย น้อยหน่า ฝรั่ง มะละกอ มันแกว อ้อย มะละกอสุก หรือขนมหวานอื่น ๆ
- หมากหนึ่งคำ บุหรี่หนึ่งมวน เมี่ยงหนึ่งคำ
รูปภาพจาก: Guide Ubon
-
ในวันแรม 14 ค่ำ เดือน 9 ชาวบ้านจะเดินทางไปที่วัดตั้งแต่ตี 4 เพื่อนำสิ่งของที่เตรียมไว้จัดใส่กระทง ไปวางไว้เป็นระยะ ตามจุดต่าง ๆ ตามข้างวัด กำแพงวัด หรือตามกิ่งไม้ ซึ่งเป็นการไปวางแบบเงียบ ๆ ไม่มีการตีฆ้องหรือตีกลองแต่อย่างใดคำพูดจาก เว็บสล็อตเว็บตรง
-
หลังจากวางเสร็จแล้ว ชาวบ้านจะกลับบ้านเพื่อเตรียมอาหารไปทำบุญที่วัดอีกครั้งในตอนเช้า เมื่อพระสงฆ์ฉันเช้าเสร็จก็จะเทศน์ฉลองบุญข้าวประดับดิน
-
ชาวบ้านที่มาทำบุญในตอนเช้า หลังจากถวายปัจจัยเสร็จแล้ว ก็จะกรวดน้ำ อุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว
รูปภาพจาก: โครงการเรียนรู้คุณค่าศิลปวัฒนธรรม ฮีตสิบสอง คองสิบสี่ บุญข้าวประดับดิน, มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ในช่วงนี้จะเห็นได้ว่ามีหลายวันสำคัญที่เป็นการทำบุญให้แก่บรรพบุรุษ ไม่ว่าจะเป็นสารทจีน สารทไทย หรือสารทอื่น ๆ ประเพณีการทำบุญให้แก่ผู้ล่วงลับในไทยมีมานานแล้ว และปฏิบัติสืบต่อกันมาอย่างยาวนาน “บุญข้าวประดับดิน” ก็เป็นอีกหนึ่งประเพณีที่สำคัญ เพราะนอกจากจะเป็นการทำบุญให้แก่ผู้ล่วงลับ ยังทำบุญให้แก่เพื่อนมนุษย์และสัตว์โลกที่ไม่มีเจ้าของ ให้สามารถมากินอาหารได้อย่างเต็มที่อีกด้วย
สำหรับใครที่กำลังมีแพลนไปเที่ยวอีสานเร็ว ๆ นี้ ก็สามารถไปสัมผัสกับวัฒนธรรมอันเก่าแก่นี้ได้เช่นกัน
ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพ: สำนักประชาสัมพันธ์เขต 2 อุบลราชธานี,โครงการเรียนรู้คุณค่าศิลปวัฒนธรรม ฮีตสิบสอง คองสิบสี่ บุญข้าวประดับดิน มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี,Guide Ubon
ย้อนดู “เงินเดือนข้าราชการ” หลัง ครม.สั่งการแบ่งจ่าย 2 รอบ/เดือน
รพ.จุฬาเปิดจุดฉีดวัคซีน HPV เดือน ก.ย.ฟรี! ย้ำรีบลงทะเบียนก่อนหมดเขต!
ไขรหัส!“ทิชชู 1 บาท” เช็ดหน้าได้ไหม? วิธีเลือกให้ปลอดภัยจากสารฟอกขาว